เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 3. ตติยสุตตันตนิทเทส
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธ ฯลฯ
พึงเห็นความประพฤติแห่งปัญญินทรีย์ เพราะมีสภาวะเป็นใหญ่ ในความเห็น
อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (และ) ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ พึงเห็นความ
ประพฤติแห่งสัทธินทรีย์ เพราะมีสภาวะน้อมใจเชื่อ พึงเห็นความประพฤติแห่ง
วิริยินทรีย์ เพราะมีสภาวะประคองไว้ พึงเห็นความประพฤติแห่งสตินทรีย์ เพราะมี
สภาวะตั้งมั่น พึงเห็นความประพฤติแห่งสมาธินทรีย์ เพราะมีสภาวะไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจแห่งปัญญินทรีย์ในอริยสัจ 4 พึงเห็นความประพฤติแห่งอินทรีย์ 5
ด้วยอาการ 20 อย่างนี้

จารวิหารนิทเทส
แสดงความประพฤติและความเป็นอยู่
[197] ความประพฤติและความเป็นอยู่ เป็นอันตรัสรู้แล้ว รู้แจ้งแล้ว
เหมือนอย่างสพรหมจารีผู้รู้แจ้ง มั่นใจบุคคล ตามที่ประพฤติ ตามที่เป็นอยู่ในฐานะ
ที่ลึกซึ้งว่า “ท่านผู้นี้บรรลุแล้วหรือว่าจักบรรลุแน่”
คำว่า ความประพฤติ อธิบายว่า ความประพฤติ 8 อย่าง ได้แก่
1. ความประพฤติในอิริยาบถ
2. ความประพฤติในอายตนะ
3. ความประพฤติในสติ
4. ความประพฤติในสมาธิ
5. ความประพฤติในญาณ
6. ความประพฤติในมรรค
7. ความประพฤติในผล
8. ความประพฤติเพื่อประโยชน์แก่โลก
คำว่า ความประพฤติในอิริยาบถ ได้แก่ ความประพฤติในอิริยาบถ 4

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :318 }